อาการพะอืดพะอม จุกที่คอ อาจจะเป็นสัญญาณบอกโรคกระเพาะ

ร่างกายไม่สามารถพูดเองได้ เมื่อมีระบบบางส่วนทำงานผิดปกติ จึงเลือกแสดงออกผ่านสัญญาณต่าง ๆ ประเด็นหลักของบทความชิ้นนี้จะขอปูไปสู่หนึ่งในอาการที่หลายคนกังวลกันอย่าง พะอืดพะอม จุกที่คอ ซึ่งใครที่กำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ อย่าเพิ่งกังวลใจกันไป เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณบอกโรคที่กำลังตามมาอย่างโรคกระเพาะ… โรคกระเพาะถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา แต่นี่ไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียวของการเป็นโรคกระเพาะ ถ้าอยากรู้กันแล้วว่ามีอะไรที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะได้อีกบ้าง ไปติดตามกันต่อได้ ดังนี้

สาเหตุหลักของโรคกระเพาะ ที่อาจให้เกิดอาการพะอืดพะอม จุกที่คอ

ตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น นอกจากอาการพะอืดพะอม จุกที่คอ ยังมีสัญญาณอื่น ๆ ประกอบ หากผู้ป่วยคนใดที่มีอาการ พะอืดพะอม จุกที่คอแล้ว และยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคกระเพาะหรือไม่ ลองตรวจสอบอาการตามรายการนี้ เพื่อให้แน่ใจ ก่อนที่จะหาวิธีรับมือได้อย่างถูกต้อง

การรับประทานยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด

การรับประทานยามักจะมีการกำหนดว่าให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร เพราะไม่ใช่ยาทุกประเภทที่จะเหมาะกับการรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง และแน่นอนว่ายากลุ่มต้านการอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโปรเฟน หรือ ยาไดโคลฟีแนค หรือยาแก้ปวดนี้ต้องรับประทานหลังอาหารเสมอ เพราะยากลุ่มนี้สามารถที่จะสร้างอาการระคายเคืองให้กับเยื่อบุกระเพาะอาหาร และทำให้กรดที่หลั่งจากกระเพาะอาหารกัดกร่อนเยื่อบุกระเพาะอาหาร จนในท้ายที่สุดเยื่อบุกระเพาะเกิดเป็นแผล และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาอย่างการรู้สึกเจ็บจุกเสียดที่ท้องหรือพะอืดพะอม จุกที่คอ

ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori)

ในอาหารที่เราต่างรับประทานกันเข้าไป หนึ่งในสิ่งที่ต้องยอมรับกันคือ ไม่ได้มีแต่เพียงอาหารเท่านั้นที่เข้าไปสู่ร่างกายของเรา แต่ยังมีสารปนเปื้อนต่าง ๆ เข้าไปอีกด้วย และสารปนเปื้อนประเภท H.pylori ที่พบได้ในอาหารหรือน้ำดื่มนั้นมีความคงทนมากกว่าสารปนเปื้อนชนิดอื่น ๆ  เมื่อร่างกายได้รับสารประเภทนี้เข้าไปจำนวนมาก จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เกิดเป็นอีกโรคที่หนักกว่าโรคกระเพาะปกติเป็น โรคกระเพาะอักเสบได้ เพราะผลกระทบจากสาร H.pylori ที่ทำให้ในชั้นเยื่อบุกระเพาะเกิดแผลและอักเสบ

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ

อย่างไรก็ดีนอกจากสาเหตุที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เมื่อทำประกอบร่วมก็จะทำให้เกิดเป็นโรคกระเพาะได้ด้วยเช่นเดียวกัน และองค์ประกอบเหล่านี้ผู้คนมักจะเผลอทำกันโดยที่ไม่รู้ตัว

  • ภาวะความเครียด
  • รับประทานอาหารรสจัด
  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • ดื่มสุรา หรือคาเฟอีนในปริมาณมาก
  • การสูบบุหรี่
  • ติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตชนิดอื่น
  • เป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 1

อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคกระเพาะ

เมื่อทราบสาเหตุของโรคกระเพาะกันไปบ้างแล้ว นอกจากอาการที่จะพบได้อย่าง พะอืดพะอม จุกที่คอ หรือความรู้สึกจุกเสียดเจ็บท้องแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ อีกมากที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในโรคนี้

  • รับประทานอาหารไม่ได้มาก เมื่อทานอาหารจะรู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ
  • มีอาการท้องเฟ้อ ทำให้เรอบ่อย
  • ย่อยยาก เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปจะรู้สึกแน่นท้องผิดปกติ
  • มีอาการปวดแสบ จุกแน่น ทั้งที่ยังไม่ได้ทานอาหาร หรือหลังรับประทานอาหาร
  • ในกรณีที่เป็นแผลในลำไส้เล็ก จะรู้สึกปวดมากขึ้นในช่วงบ่าย เย็น ตอนดึก แต่เมื่อได้ดื่มนมเข้าไปจะรู้สึกดีขึ้น

สำหรับผู้ที่อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือด หรือถ่ายออกมาแล้วเป็นสีดำ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะอาการอาจจะทรุด และทำให้เกิดโรคชนิดอื่นแทรกซ้อนได้ในเวลาเดียวกัน

แน่นอนว่าถ้าหากทราบว่าตัวเองน่าจะเป็นโรคกระเพาะ วิธีแก้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหารให้ตรงเวลา ลดปริมาณของเผ็ด อาหารรสจัด และดื่มน้ำให้ได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน รวมถึงการออกกำลังกาย เพราะเมื่อพื้นฐานของร่างกายแข็งแรงดี โรคภัยหรืออาการพะอืดพะอม จุกที่คอ ก็จะลดน้อยลง และค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้นจนหายไปในที่สุด