โรคเริม อาการเป็นอย่างไร โรคติดต่อที่พบบ่อยมากที่สุด

โรคที่เชื่อว่าทุกคนมักจะเคยได้ยิน หรือเคยได้รู้จักกันมาในระดับหนึ่ง แต่ในเชิงลึกแล้วอาจจะยังไม่ได้มีความเข้าใจว่าโรคประเภทนี้คืออะไร และมีอาการรวมไปถึงสาเหตุของโรคประเภทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคที่กำลังพูดถึงนี้คือ โรค เริม อาการ เบื้องต้นที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยระยะแรก

โรคเริม หรือ Herpes simplex virus เป็นโรคที่ติดต่อจากผู้อื่น ซึ่งไวรัสชนิดนี้เมื่อได้รับเข้าสู่ผิวหนังแล้ว จะทำการฟักตัวในระยะต้น โดยจะมีทั้งรูปแบบการแสดงอาการออกมา และไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อพ้นระยะแรกไป ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกคัน และแสบที่บริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ ส่วนมากแล้วมักจะพบการติดเชื้อบริเวณปากและอวัยวะเพศ

โรคเริม อาการเบื้องต้น

ตามที่ได้กล่าวอธิบายไปในข้างต้น โรคเริมนี้มีระยะในการฟักตัวอยู่ โดยปกติจะใช้ระยะเวลา 3 – 7 วันหลังได้รับเชื้อ และผู้ป่วยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่อีกกลุ่มอาจจะเกิดตุ่มน้ำเกิดขึ้นที่ชั้นผิว และเกิดแผลตื้น ๆ ขึ้น เมื่อผ่านไประยะหนึ่งจะเกิดความรู้สึกแสบ และร้อนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เมื่อผ่านไปได้ประมาณ 2 – 6 สัปดาห์ พ้นระยะฟักตัวของโรค เริม อาการ จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เริ่มจากมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือต่อมน้ำเหลืองโต อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ป่วยโรคเริมได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และหายจากอาการดังกล่าวแล้ว สามารถที่จะกลับมาเป็นโรคเริมอีกได้ เพียงแต่อาการหรือความรุนแรงจะไม่เท่ากับครั้งแรก หรือครั้งก่อนหน้าที่ได้รับเชื้อ

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเริม อาการเดิมซ้ำ

เนื่องจากโรคเริมไม่สามารถที่จะทำให้หายขาดได้ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมสามารถที่จะกลับไปเป็นโรคเริมอีกครั้งใหม่ได้ แต่หากหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านี้ได้ โอกาสในการกลับไปติดโรคเริมอีกก็จะถือว่าน้อย หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ จะมีสาเหตุอะไรบ้างไปติดตามกันได้ ดังนี้

  • ผิวหนังเจอกับแสงแดดที่มากเกินไป
  • ภาวะความเครียด
  • รอยถลอกที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดี
  • ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์

เมื่อพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริม อาการเก่า ๆ เริ่มกลับมา การหลีกเลี่ยง และการหาวิธีรับมือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะโรคประเภทนี้คือการติดเชื้อจากปัจจัยภายนอก หากรู้วิธีการดูแลตัวเองที่ดีพอ และไม่ทำพฤติกรรมเข้าข่ายซ้ำ ๆ ก็ยากที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นโรคเริมซ้ำสองได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สำหรับผู้ป่วยโรคเริม อาการเริ่มแสดง และชัดเจนว่าผู้ป่วยกำลังอยู่ในช่วงการลุกลามของเชื้อไวรัส ควรดูแลตัวเองให้ดี เพราะมีโอกาสที่สูงมากที่จะติดเชื้อเพิ่ม และมีอาการอื่น ๆ เข้ามาแทรกซ้อน ในกรณีที่ติดเชื้อที่บริเวณดวงตาสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้เลยทีเดียว

หากโรคเริมมีการติดเชื้อในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด มีโอกาสที่ทารกที่กำลังจะเกิดจะได้รับชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กได้ ทั้งเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1: HSV-1) และเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2: HSV-2) ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของทารก เพราะจะทำให้ร่างกายของเด็กอ่อนแอ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้

วิธีการป้องกันโรคเริม

โรคเริมคือโรคที่เกี่ยวพันกับการติดเชื้อ วิธีการป้องกันที่ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น การเลิกใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น, การสัมผัสตัวผู้อื่นโดยตรงจากการจูบ หอม หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เข้าข่ายว่ามีเชื้อเริม อีกทั้งในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ การใช้ถุงยางอนามัยก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ได้

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเริม อาการจะดีขึ้นได้ เมื่อคุณเริ่มใส่ใจ และห่วงใยตัวเองด้วยการหมั่นทำให้ร่างกายแข็งแรง และเสริมภูมิคุ้มกันจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดี ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้ป่วย หรือผู้ที่ไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคนี้จำเป็นต้องทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ เมื่อร่างกายแข็งแรง การติดเชื้อหรือโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคเริมอีกครั้งก็จะมีโอกาสที่ต่ำลงกว่าเดิม